Monday, October 26, 2009

ตามรอยเสด็จประพาสต้น กำแพงเพชร นครสวรรค์

ศาลหลักเมือง กำแพงเพชร

วัดพระแก้ว-พระธาตุ อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร มรดกโลก
วัดพระแก้ว ตั้งอยู่กลางเมืองกำแพงเพชร เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มโบราณสถานมรดกโลกในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร เป็นวัดที่สำคัญอยู่ติดกับบริเวณวังเช่นเดียวกับวัดพระศรีสรรเพชญ์ ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หรือวัดมหาธาตุกลางเมืองสุโขทัย ภายในบริเวณวัดประกอบด้วยเจดีย์ประธานที่ฐานมีสิงห์ล้อม เจดีย์ทรงกลมที่ฐานมีช้างรอบ วิหาร มณฑป อุโบสถ และเจดีย์ราย ทั้งหมดล้อมรอบด้วยกำแพงศิลาแลงเป็นแท่งๆ โดยรอบ
วัดพระธาตุ ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออกของวัดพระแก้ว มีพระเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยมเป็นประธาน ล้อมรอบด้วยระเบียงคดที่เชื่อมต่อกับวิหารด้านทิศตะวันออก ที่สองข้างวิหารมีเจดีย์รายอยู่ ข้างละ 1 องค์ มีกำแพงแก้วล้อมรอบ


วัดพระสี่อริยาบท อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร มรดกโลก
วัดพระสี่อิริยาบถ อยู่ต่อจากวัดพระนอนไปทางทิศเหนือในแนวกำแพงวัด ติดต่อกันถึงวัดพระสี่อิริยาบถหรือที่เรียกกันเป็นสามัญว่า วัดพระยืน วัดนี้มีบ่อน้ำและที่อาบน้ำอยู่หน้าวัด เช่นเดียวกับวัดพระนอนนั่นเองครับ กำแพงวัดเป็นศิลาแลงปักตั้งล้อม 4 ด้าน มีทางเข้าปูด้วยศิลาแลง มีศาลาโถงปลูกคร่อมทางเดินเป็นศาลากว้าง 6 เมตรยาว 11 เมตร เป็นเสา 4 แถว 5 ห้อง ต่อจากศาลา หน้าวัดมีประตูเข้าไปในบริเวณวัด แล้วถึงฐานศิลาแลงใหญ่ ยกฐานสูงประมาณ 2 เมตร มีเสาลูกกรง เป็นศิลาแลงเหลี่ยมและทับหลังลูกกรงเตี้ย ๆ สูงประมาณ 60 เซนติเมตร อยู่โดยรอบ ฐานนี้มีบันไดขึ้นด้านหน้า 2 บันได ด้านข้าง 2 บันได และด้านหลังอีก 2 บันได บนฐานวิหารกว้าง 17 เมตร ยาว 29 เมตร ย่อมุขเด็จ ทั้งหน้าและหลัง เสาวิหารที่อยู่บนฐานเป็นเสา 4 แถว 5 ห้อง2 แถวหน้าและหลัง 2 ห้อง รวม 7 ห้อง ที่ ฐานชุกชี มีรอยตั้งพระพุทธรูปนั่ง ด้านหลังวิหารมีบันไดลงติดต่อกับมณฑปพระสี่อิริยาบถ โดยรอบมณฑป กำแพงแก้วเตี้ย ๆ เหลือแต่ฐานมีประตูเข้าด้านข้าง 2 ข้าง และด้าน หลังมณฑปกว้าง 29 เมตร เป็นมณฑปสี่หน้า ด้านหน้ามีพระพุทธรูปลีลาด้านข้างเหนือ มีพระพุทธรูปนั่งพระพุทธรูปปูนปั้นทั้ง 3 ด้านที่กล่าว มาแล้วชำรุด เหลือซากพอเป็นรอยให้ดูรู้ว่าเป็นพระพุทธรูปเท่านั้น แต่ก็เป็นหลักฐานที่แสดงให้รู้ว่า เป็นพุทธศิลปแบบ สุโขทัยสกุลช่างกำแพงเพชร
วัดช้างรอบ
เป็นวัดใหญ่ตั้งอยู่บนเนินสูง มีพระเจดีย์ใหญ่ตั้งอยู่กลางลาน ฐานเจดีย์กว้าง 31เมตร สี่เหลี่ยมที่ฐานเป็นรูปช้างครึ่งตัวเห็นแต่ 2 ขาหน้า หันศีรษะออกจากฐานรายรอบเจดีย์ เป็นช้างทรงเครื่องจำนวน 68 เชือก ระหว่างช้างมีลายปูนปั้นเป็นรูปใบโพธิ์ กับมีรอยตั้งรูปยักษ์และนางรำติดอยู่แต่ชำรุดหัก เห็นไม่สมบูรณ์ ทางขึ้นไปบนฐานทักษิณมีบันไดสี่ด้าน ตรงเชิงบันไดมีรูปสิงห์หักอยู่ที่ฐาน ฐานเจดีย์จากพื้นดินถึงลานทักษิณชั้นบนสูงประมาณ 7 เมตร กลางลานมีเจดีย์ฐานเขียงแปดเหลี่ยมฐานกว้างประมาณ 20 เมตร ลักษณะเป็นเจดีย์แบบลังกายอดหัก ด้านหน้าฐานเจดีย์เป็นวิหารใหญ่ กว้าง 17 เมตร ยาว 34 เมตร ฐานสูงประมาณ 1.5 เมตร วิหารเป็นเสา 4 แถว 7 ห้อง มีมุขเด็จข้างหน้าหนึ่งห้อง ต่อจากวิหารใหญ่เป็นสระซึ่งขุดลงไปในพื้นศิลาแลง กว้าง 23 เมตร สี่เหลี่ยมลึก ประมาณ 8 เมตร มีน้ำขังอยู่บางฤดูจากการขุดแต่งที่ฐานเจดีย์วัดช้างรอบนี้ได้พบบรรดาลวดลายต่าง ๆ เป็นดินเผารูปนางรำ รูปยักษ์ รูปหงส์ รูปหน้าเทวดา และหน้ามนุษย์ ซึ่งตามลักษณะโบราณวัตถุเป็นศิลปสมัยอยุธยาตอนต้น หรือสุโขทัยตอนปลายทำให้ทราบลักษณะเครื่องแต่งตัว การฟ้อนรำและลักษณะอื่น ๆ ของคนสมัยสุโขทัยตอนปลาย ซึ่งเป็นประโยชน์ในการศึกษาศิลปะและโบราณคดี บรรดาโบราณวัตถุที่พบนี้ บางชิ้นเก็บรวบรวมตั้งแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถาน

วัดพระบรมธาตุ อ.เมือง กำแพงเพชร
เป็นพระอารามหลวงพ.ศ. 1762 สร้างวัดพระบรมธาตุ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี พญาลิไทสร้างเมืองนครชุม ปัจจุบันคือเมืองกำแพงเพชร เดิมเป็นพระเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ 3 องค์ ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน พ.ศ. 2329 สมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)พบว่าวัดพระบรมธาตุมีพระบรมธาตุบรรจุอยู่ในพระเจดีย์ 3 องค์ พ.ศ. 2414 พระยาตะก่า ชาวกะเหรี่ยงมีจิตศรัทธาจะบูรณะปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ใหม่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ทรงพระราชทานอนุญาตให้ปฏิสังขรณ์เปลี่ยนเป็นพระเจดีย์แบบพม่ารัชกาลที่ 5 ได้เสด็จประพาสต้น นมัสการวัดพระบรมธาตุ เมืองกำแพงเพชร ในวันเพ็ญเดือน 3

วัดวังพระธาตุ เมืองไตรตรึงษ์ กำแพงเพชร
บ้านวังพระธาตุ ตำบลไตรตรึงษ์ อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร
เป็นเมืองเก่าแก่ ชื่อเมืองไตรตรึงษ์ปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ 38 หรือศิลาจารึกกฎหมายลักษณะโจร กล่าวว่าเจ้าเมือง
ไตรตรึงษ์เป็นคณะประชุมในการเขียนกฎหมายดังกล่าวด้วย ตามตำนานสิงหนวัติกล่าวไว้ว่า พระเจ้าไชยศิริเชียงแสนหนีพม่ามาจากเชียงรายเป็นผู้สร้างเมืองไตรตรึงษ์ เมื่อพ.ศ. 1542 อดีตเป็นเมืองใหญ่สร้างสมัยทวาราวดี

อุทยานสวรรคฺ์ นครสวรรค์



No comments: